Article view

กว่าจะมาเป็น 5 แบรนด์ยักษ์ใหญ่

กว่าจะมาเป็น 5 แบรนด์ยักษ์ใหญ่

มีธุรกิจเพียงแค่หยิบมือเท่านั้นที่ประสบความสำเร็จตั้งแต่ครั้งแรกที่ลงมือทำ ส่วนใหญ่มักไม่เป็นอย่างที่เจ้าของคิดไว้ มันมีปัจจัยหลายอย่างมากๆที่จะทำให้ธุรกิจก้าวต่อไปได้ ซึ่งอาจทำให้หลายคนต้องยอมแพ้แล้วล้มเลิกไปเลย

เมื่อคุณเริ่มธุรกิจ การเข้ามาในวงการผิดที่ผิดเวลา ตลาดวาย การแข่งขันสูง หรืออะไรก็แล้วแต่ ปัจจัยเหล่านี้อาจทำให้ธุรกิจพังไม่เป็นท่า โชคดีที่ยังเหลือทางเลือกสุดท้าย คุณไม่จำเป็นต้องทิ้งสิ่งที่คุณพยายามทำมาทั้งหมด เพียงแค่เปลี่ยนทิศทางธุรกิจของคุณ เช่น การเปลี่ยนตัวผลิตภัณฑ์ เปลี่ยนกลุ่มเป้าหมาย เปลี่ยนตลาด หรือวิธีขาย ฯลฯ

มันอาจฟังดูเหมือนลองๆทำไปเผื่อฟลุ๊ค แต่หลายๆธุรกิจก็เคยผ่านการทำแบบนี้และประสบความสำเร็จอย่างมากมาย มาดูกันเลยว่ามีอะไรบริษัทอะไรบ้าง

1. Youtube

มันยากมากที่จะนึงถึง Youtube ในอีกรูปแบบนึง ก่อนที่จะมาเป็น ผู้ให้บริการ Video Streaming ยักษ์ใหญ่ของโลก ก่อนหน้าที่จะประสบความสำเร็จขนาดนี้ Youtube เป็นผู้ให้บริการ Video Streaming สำหรับการเดทเท่านั้น โดยจะให้ผู้ใช้อัพโหลดวิดีโอสั้นๆเพื่อแนะนำตัวและหาคู่เดท ซึ่งตอนนั้นมีกระทั่งสโลแกนที่ว่า “Tune in, hook up.” ประมาณว่าเข้ามาหาคนที่ใช่แล้วไป(เดท)กันเลย ต่อมาทาง

Youtube รู้สึกว่าการให้บริการวิดีโอออนไลน์นี้ได้รับความนิยมอย่างมากไม่ใช่แค่สำหรับการหาคู่เท่านั้น จึงเปลี่ยนมาให้บริการวิดีโอออนไลน์อย่างเต็มตัว และเข้ามาอยู่กับบริษัท Google ด้วยราคาที่ Google ต้องจ่ายถึง 65 ล้านดอลล่า

2. Slack

ปัจจุบันน้อยคนที่ทำงานออฟฟิศสมัยใหม่แล้วจะไม่รู้จัก Slack ก่อนที่จะมาเป็นผู้ให้บริการแชทและอีเมลล์ในที่ทำงานนั้น Slack เป็นบริษัทผู้ผลิตเกมมาก่อนชื่อว่า Glitch เป็นเกมที่ไม่ใช่แค่สู้กับมอนสเตอร์ หรือไขปริศนา แต่ยังเน้นไปที่โลกโซเชียล และการออกพบป่ะผู้คนบนโลกออนไลน์ แม้ว่าเกมจะได้รับความนิยมอย่างมาก แต่มันกลับไม่ทำเงิน ทางทีมงานจึงเริ่มต้นลงทุนในผลิตภัณฑ์ใหม่ เป็นแอปพลิเคชันสำหรับแชทในการทำงาน และนั่นก็สำเร็จเป็นอ่ย่างมาก ได้รับทั้งความนิยมและสร้างกำไรให้กับบริษัทอย่างมหาศาล

3. Groupon

Groupon เริ่มต้นกิจการด้วยกิจการที่แทบไม่เกี่ยวอะไรกันกับกิจการปัจจุบันเลย ชื่อว่า The Point Andrew Mason และ Eric Lefkofsky คิดอยากจะสร้างแพลตฟอร์มที่เป็นโลกออนไลน์ที่ทำให้ผู้คนมาพบปะกัน แลกเปลี่ยนและช่วยเหลือกันเกี่ยวกับโครงการการกุศล The Point เริ่มต้นอย่างสวยงาม แต่ความนิยมก็ลดลงไปอย่างรวดเร็ว ทีมงานจึงเริ่มคิดส่วนเสริมของ The Point ขึ้นมา ชื่อว่า Groupon ที่ช่วยให้ผู้ใช้ ระดมเงินกันเพื่อต่อรองโปรโมชันต่างๆได้ ไอเดียนี้ได้รับความนิยมอย่างมาก ทีมงานจึงหันมาทุ่มเทกับ Groupon และพัฒนาให้มันเป็นโปรเจคหลักของบริษัทแทน เลยกลายมาเป็น Groupon อย่างทุกวันนี้

4. Yelp

ทุกวันนี้ แทบจะเป็นไปไม่ได้ที่จะเริ่มธุรกิจโดย ไม่ต้องพึ่งพาการรีวิวของผู้คนผ่าน Yelp แต่กว่าที่ Yelp จะประสบความสำเร็จและยิ่งใหญ่มาได้ขนาดนี้ ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ย้อนกลับไปในปี 2004 Yelp เริ่มต้นจากทำระบบให้ผู้ใช้เชิญชวนเพื่อนๆมาซื้อสินค้าหรือบริการบนโลกออนไลน์ ซึ่งไม่ค่อยได้รับความนิยมนัก แม้ว่าจะได้เงินทุนจาก Paypal ถึงหลักล้านก็ตาม ผู้ก่อตั้งได้สังเกตเห็นว่าผู้ใช้ที่มาเขียนรีวิวให้กับธุรกิจต่างๆนั้นทำไปเพื่อความสนุกเท่านั้น จึงเริ่มสร้างระบบที่รองรับการรีวิวที่เอาจริงเอาจังมากขึ้น และทุกวันนี้ก็มีผู้คนมารีวิวสิ่งต่างๆผ่าน Yelp ถึง 17 ล้านรีวิวเข้าไปแล้ว

5. Shopify

อีกหนึ่งในธุรกิจที่พลิกตัวเองจากผู้แพ้มาเป็นผู้ชนะอย่างยิ่งใหญ่ ผู้ก่อตั้ง Shopify นั้น ไม่ได้เริ่มคิดไอเดียใหม่ขึ้นมาแต่อย่างใด แต่ใช้ประโยชน์จากสิ่งที่ตัวเองมีให้เต็มที่และนำมาต่อยอดให้ดีกว่าเดิม ย้อนไปในปี 2004 Tobias Lutke, Daniel Weinand and Scott Lake ทั้งสามคนพยายามจะก่อตั้งธุรกิจ ร้านขายอุปกรณ์สโนวบอร์ดออนไลน์ ชื่อว่า Snowdevil แต่มันไม่ใช่เพียงเว็บ ECommerce ทั่วไป เพราะพวกเขาเป็นเจ้าของร้านนี้และมีหน้าร้านอยู่จริงๆไม่ใช่แค่ในโลกออนไลน์ แน่นอนว่า Snowdevil เจ๊งไม่เป็นท่า พวกเขารักร้านนี้มากจนไม่ยอมแพ้ จึงคิดหาวิธีที่จะขายมันให้กับธุรกิจที่เหมาะกับการขายออนไลน์มากกว่า และนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของ Shopify ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในปัจจุบัน

เราได้เรียนรู้อะไรจากเรื่องราวพวกนี้

มองว่าเรามีอะไร ถ้าคุณเริ่มรู้สึกว่ามีอะไรซักอย่างที่จะทำให้ธุรกิจไปต่อไม่ได้ นั่นอาจไม่ได้แย่เสียทีเดียว แต่ควรมองว่าเจ้าสิ่งนี้น่าจะมีประโยชน์แน่ๆถ้าลองใช้มันในแบบอื่นๆให้ถูกที่ถูกทาง เหมือนกับ Groupon ที่รู้ว่าควรจะทำอะไรกับสิ่งที่ตัวเองมีอยู่ทั้งๆที่มันกำลังจะพังไม่เป็นท่าก็ตาม เอามาปรับใช้และทำให้ดีขึ้น ทำให้พลิกกลับมาประสบความสำเร็จได้ในที่สุด

จำกัดการขาดทุน คนเราผิดพลาดได้ ขาดทุนได้ แต่เมื่อเราขาดทุน หรือธุรกิจกำลังจะไปไม่รอด ไม่ว่าคุณจะรักธุรกิจนั้นแค่ไหน ก็ไม่ควรกอดมันไว้จนหมดตัวแล้วตายไปกับมัน ต้องยอมปล่อยมันไป แล้วเริ่มต้นกับสิ่งใหม่ๆ

ต้องทำเงิน สิ่งสำคัญของธุรกิจคือต้องทำเงิน เหนือสิ่งอื่นใดธุรกิจต้องมีกำไร ไม่งั้นก็อยู่ไม่ได้ ดังนั้นจงอย่ายึดติดกับความสมบูรณ์แบบให้มาก ถึงสิ่งที่คุณทำจะเจ๋งแค่ไหน ถ้าไม่ทำเงินมันก็เท่านั้น


เราอาจไม่จำเป็นต้องประสบความสำเร็จตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้พยายามทำ หรือไม่ประสบความสำเร็จมากมายอย่างที่หวังไว้ ลองมองมุมใหม่ๆ มองหาความเป็นไปได้ใหม่ๆ และไม่ต้องกลัวการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ แม้ว่าคุณจะเดินมาไกลแล้วก็ตาม เมื่อถึงเวลา มันก็จำเป็นต้องปรับตัวเพื่อรักษาธุรกิจที่คุณรักเอาไว้


src: entrepreneur



5394 2018-02-21 03:19:12