9 วิธีออมเงินง่ายๆสำหรับวัยรุ่น
9 วิธีออมเงินง่ายๆสำหรับวัยรุ่น
การออมเงิน ฟังดูเหมือนเป็นเรื่องง่ายๆ แต่มันทำยากซะเหลือเกิน ไม่ว่าจะเป็นตอนที่ขอเงินคุณพ่อคุณแม่ใช้ หรือแม้กระทั่งตอนที่หาเงินได้เองแล้วนั้น ก็ยังไม่มีเงินเก็บ มีเท่าไรก็ใช้หมด เงินมันหายไปไหนหมด แต่มาพอรู้ตัวอีกที ก็อายุ 25 แล้ว ถึงตอนนี้ก็ไม่มีเงินลงทุนทำอะไรได้สักอย่าง ต้องมานั่งเสียดายเวลาที่ผ่านมา ดังนั้น ก่อนที่จะเกิดปัญหาเหล่านี้ขึ้น เรามี 9 วิธีออมเงินง่ายๆ ที่วัยรุ่นควรทำก่อนอายุ 25 กัน มาแนะนำกัน รับรองว่าทำแล้วได้ผลอย่างแน่นอน
1. แบ่งเงินใส่ถุง
เริ่มจากคำนวนว่า ในแต่ละวันเราจำเป็นต้องใช้เงินเท่าไร ไม่ว่าจะเป็นค่าเดินทางไป-กลับ ค่าอาหาร 3 มื้อ ส่วนค่าขนม หรือค่าช้อปปิ้งต่างๆ และอาจจะเผื่อเงินเกินกันไว้ได้นิดหน่อย สมมุติว่าเราใช้เงินไม่เกิน 300 บาทแน่ๆ ต่อวัน ก็นำเงิน 300 มาใส่ถุงไว้ตามจำนวนวันใน 1 เดือน และหยิบไปใช้แต่ละวันเท่านั้น ห้ามเกินกว่านี้
2. เก็บเหรียญ แต่ละวันเหลือเหรียญเท่าไหร่หยอดออมสินให้หมด
วิธีการต่อมาหากวันไหนที่เรามีเงินเหลือจาก 300 บาท ไม่ว่าจะเป็นแบงค์ หรือเหรียญก็ตาม นำมาหยอดกระปุกให้หมด ไม่ต้องนำไปใช้เพิ่มในอีกวัน ยิ่งเราใช้น้อยเท่าไร เราก็ยิ่งมีเก็บเยอะ เก็บไว้หลายๆ ทางก็ยิ่งดีใหญ่เลย
3. แบงค์ 50 ห้ามใช้
วิธีนี้เห็นรีวิวบ่อยมาก และดูจะได้ผลลัพท์ที่น่าชื่นใจมากๆ นั้นก็คือ เมื่อโชคชะตาส่งแบงค์ 50 มาให้เรา คุณต้องเก็บทันทีห้ามใช้เด็ดขาด หลายคนอาจจะไม่ชินในช่วงแรกๆ พกเงินมา 100 ซื้อของปุ๊บแม่ค้าทอนแบงค์ 50 เราก็เก็บแบงค์ 50 นั้นไว้ ลองเก็บดูซัก 1-2 เดือน แล้วมานับ จะเก็บได้หลายพันอย่างไม่น่าเชื่อเลยแหละ
4. เก็บเข้ากระปุกเท่ากับข้าวกลางวันทุกมื้อ
ถ้าคุณยังตัดสินใจไม่ได้ ลองมาดูวิธีต่อมา คือการหยอดกระปุกมื้ออาหาร เช้า-กลางวัน-เย็น ซื้อทานไปเท่าไรหยอดเงินตามจำนวนเท่านั้น ถ้าวันไหนคุณเลือกที่จะกินแพง สิ้นเดือนนั้นคงได้กินมาม่าอย่างแน่นอน
5. ตั้งงบกินแค่ 100 เกินกว่านี้ต้องหยอดกระปุกตามที่เกิน
กำหนดใช้เงินเพียงวันละ 100 บาท กินข้าวสองมื้อ คือ เช้า กับ กลางวัน ประหยัดแถมไม่อ้วนด้วย เพราะลดอาหารมื้อเย็น หรือถ้าใช้เกินไป 150 บาท ก็ต้องมาหยอดกระปุกจำนวนที่เกินจำนวน 50 บาทลงไปแทน ดังนั้นถ้าไม่อยากจะต้องมาหยอดกระปุกก็ พยายามอย่าทานเกินงบ 100 บาท
6. แยกกระปุก
ลองหาแรงจูงใจให้กับชีวิตสักหน่อย สำหรับใครที่ชอบท่องเที่ยว แนะนำให้ทำแบบนี้เลย คือนำกระปุกมาเขียนชื่อสถานที่ที่อยากไป หรือกิจกรรมที่ต้องมีค่าใช้จ่าย แล้วก็ค่อยๆหยอดวันละนิดๆ พอถึงเวลาที่จะไปเที่ยวหรือต้องใช้เงิน ก็นำเอาเงินที่หยอดไว้มานั่งนับดู จะเห็นว่าเซฟเงินไปเยอะเลยเดียว
7. เก็บแบงค์ใหม่-ไม่ใช้
เจอแบงค์ใหม่แบบไม่เคยผ่านมือใครมาก่อน จัดการเก็บไว้เลย แต่ถ้าแบงค์ใหญ่ๆ อย่าง 500 หรือ 1000 เก็บไม่ได้จริงๆ ต้องใช้ ก็เริ่มจากแบงค์เล็กๆ อย่าง แบงค์ 20 หรือ 100 ก่อนก็ได้ ถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดีในการออมเงิน
8. หักเศษเงินเดือน
สมมุติได้เงินเดือน 15,560 บาท ลองหัก 560 บาทออกมาเก็บไว้ เพราะเป็นเงินจำนวนไม่มากไม่น้อยจนเกินไปสำหรับการเก็บ
9. ออมวันละนิด จิตแจ่มใส
วิธีสุดท้าย หากระปุกหมูน่ารักที่ไม่มีช่องสำหรับนำเงินออกได้ นอกจากคุณจะทุบกระปุกเท่านั้น และทำการหยอดเงินทุกวัน ขั้นต่ำ 10 บาท ทำไปเพลินๆ ไม่ต้องสนใจนับว่าเรามีเท่าไร จนเมื่อกระปุกหนักหรือเต็มแล้ว จึงตัดใจทุบกระปุกได้
ข้อมูลจาก teen.mthai.com
3538 2016-03-10 01:22:26